logo-hamburger
งานจ้างสำรวจ ออกแบบโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีนจังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรี และสมุทรสาคร
ความเป็นมาของโครงการ
image-i
   จากปัญหาอุทกภัยซ้ำซากในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 พ.ศ.2526 พ.ศ.2538 พ.ศ.2545 พ.ศ.2549 พ.ศ.2553 และ พ.ศ.2554 และมีแนวโน้มว่าจะมีปริมาณน้ำหลากมากขึ้นในอนาคต ก่อให้เกิดความเสียหายให้กับประเทศอย่างมากมายและกว้างขวางในทุกภาคส่วน
image-i
   สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากปริมาณฝนที่ตกในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปริมาณที่มาก และต่อเนื่องจนความสามารถในการระบายน้ำ ที่ความจุของลำน้ำแม่น้ำเจ้าพระยารวมทั้ง การระบายน้ำโดยลำน้ำสายอื่นๆ หรือการใช้ช่องทางการระบายต่างๆ ไม่สามารถรองรับได้ ทำให้ปริมาณน้ำที่เกิดขึ้นในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนทั้งหมดไม่สามารถระบายลงลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างและออกสู่อ่าวไทยได้ทัน
image-i
   ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับพื้นที่ชุมชน พื้นที่การเกษตรและพื้นที่อุตสาหกรรม ทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยเฉพาะการเกิดน้ำท่วมในปี พ.ศ.2554 ซึ่งเกิดน้ำท่วมทั้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง รวม 18 จังหวัด
วัตถุประสงค์ของโครงการ
1
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน
2
เพื่อให้ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการน้ำชลประทานและอุทกภัยในพื้นที่เจ้าพระยาฝั่งตะวันตกและพื้นที่ข้างเคียงดียิ่งขึ้น
3
เพื่อการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกันและให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แผนงานเพื่อบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยา
image-i
ประกอบด้วย
1
แผนงานปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก
2
แผนงานคลองระบายน้ำหลากเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก (ชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย)
3
แผนงานคลองระบายน้ำหลาก ควบคู่ถนนวงแหวนรอบที่ 3
4
แผนงานปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก
5
แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา
6
แผนงานบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ
7
แผนงานคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร
8
แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน
9
แผนงานพื้นที่รับน้ำนอง
องค์ประกอบของงานแม่น้ำท่าจีนตอนบน งานขุดลอกตะกอนในแม่น้ำท่าจีน 4 บริเวณ ดังนี้
  1. งานลุดลอดตะกอนในแม่น้ำท่าจีนบริเวณเหนือ ปตร.ท่าโบสถ์ ให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 270 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยกว่า 15 กิโลเมตร
  2. งานลุดลอดตะกอนในแม่น้ำท่าจีนบริเวณเหนือ ปตร.ชลมารคพิจารณ์(สามชุก) ให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 250 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยกว่า 16 กิโลเมตร
  3. งานลุดลอดตะกอนในแม่น้ำท่าจีนบริเวณเหนือ ปตร.โพธิ์พระยา ให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 200 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยกว่า 9 กิโลเมตร
  4. งานลุดลอดตะกอนในแม่น้ำท่าจีนตั้งแต่ท้าย ปตร.โพธิ์พระยา ถึงจุดบรรจบคลองสองพี่น้อง(จุดจบคลองพระยาบรรลือ) ให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 150 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยกว่า 52 กิโลเมตร
องค์ประกอบของงานแม่น้ำท่าจีนตอนล่าง มีรายละเอียด 2 ส่วน ดังนี้ต่อไปนี้

ส่วนที่ 1

การปรับปรุง / ขุดลอกตะกอนส่วนที่ตกจมยื่นเข้ามาในแม่น้ำหรือบริเวณที่ตื้นเขินตามแนวตลิ่ง จำนวนไม่น้อยกว่า 23 แห่ง

ส่วนที่ 2

ทำการปรับปรุง / ขุดลอกตะกอนช่องลัดแม่น้ำท่าจีน 4 ช่องลัด
  1. งานปรับปรุง/ขุดลอก ช่องลัดงิ้วราย
  2. งานปรับปรุง/ขุดลอก ช่องลัดนางแท่น
  3. งานปรับปรุง/ขุดลอก ช่องลัดท่าคา
  4. งานปรับปรุง/ขุดลอก ช่องลัดบางม่วง
แผนที่
งานขุดลอกตะกอนในแม่น้ำท่าจีน 4 บริเวณ ดังนี้
1
งานขุดลอกตะกอนในแม่น้ำท่าจีนบริเวณเหนือ ปตร.ท่าโบสถ์ ให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 270 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยว่า 15 กิโลเมตร
2
งานขุดลอกตะกอนในแม่น้ำท่าจีนบริเวณเหนือ ชลมารคพิจารณ์ (สามชุก)ให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 250 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยว่า 16 กิโลเมตร
3
งานขุดลอกตะกอนในแม่น้ำท่าจีนบริเวณเหนือ ปตร. โพธิ์พระยาให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 200 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยว่า 9 กิโลเมตร
4
งานขุดลอกตะกอนในแม่น้ำท่าจีนตั้งแต่ท้าย ปตร. โพธิ์พระยาให้สามารถรองรับปริมาณการส่งน้ำได้ไม่น้อยกว่า 150 ลบ.ม./วินาที มีความยาวรวมไม่น้อยว่า 52 กิโลเมตร
กิจกรรมโครงการ
จดหมายข่าว
สถิติผู้เข้าชม
1,812
เวลาปัจจุบัน
10 : 18 : 46
ติดต่อสอบถาม
สำนักออกแบบวิศวกรรมและสถาปัตยกรรมกรมชลประทาน811 ชั้น 6 อาคารที่ทำการฝ่ายวิชาการถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรีเขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300โทรศัพท์ : 0-2243-6925
บริษัท สยาม-เทค กรุ๊ป จำกัด20 ซอยลาดปลาเค้า 36แขวงจรเข้บัวเขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์ : 0-2905-1341